เมนู

แม้ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ฟ้า (มหาเมฆ) ร้อง
ด้วยเสียงเบา ๆ ก่อน แล้วจึงร้องกึกก้องไปทั่วทุกห้วงน้ำและลำธารอีก แล้ว
โปรยฝนลงมา ไหลไปให้ที่ลุ่มและที่ดอนทั่วทุกหนแห่ง เต็มเจิ่งไปด้วยอุทกวารี
ทำให้เป็นห้วงน้ำห้วงเดียวกัน ฉันใด บุคคลที่ใจกว้างบางคนในที่นี้คือใน
โลกนี้ ก็ฉันนั้น เพราะเป็นผู้มีใจเสมอในคนทั่วไป เหมือนมหาเมฆนั้น
เพราะต้องให้ฝนตกลงมา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน โดยที่ทรัพย์เป็นของได้มาด้วย
ความหมั่น คือเกิดขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียรของตน รวบรวมทรัพย์นั้นไว้
โดยธรรม คือโดยชอบ ยังวณิพกทั้งหลายผู้ถึงแล้ว คือมาถึงแล้ว ให้อิ่มคือ
ให้อิ่มหนำสำราญ โดยชอบ คือ พอเหมาะแก่กาลเทศะ และเหมาะสมแก่
ความต้องการ โดยชอบทีเดียว ด้วยข้าว น้ำ และไทยธรรมอย่างอื่น ที่เกิด
จากทรัพย์ที่รวบรวมไว้นั้น ดังนี้.
จบอรรถกถาอวุฏฐิกสูตรที่ 6

7. สุขสูตร


ว่าด้วยผู้ปรารถนาสุข 3 ประการพึงรักษาศีล


[254] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข 3 ประการนี้
พึงรักษาศีล 3 ประการเป็นไฉน ? คือ บัณฑิตปรารถนาอยู่ว่า ขอความ
สรรเสริญจงมาถึงแก่เรา 1 ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา 1 เมื่อตายไป เรา
จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 1 พึงรักษาศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนา
สุข 3 ประการนี้แล พึงรักษาศีล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นักปราชญ์ปรารถนาสุข 3 ประการ
คือ ความสรรเสริญ 1 การได้โภคทรัพย์
เครื่องปลื้มใจ 1 ความบันเทิงในสวรรค์
ในโลกหน้า 1 พึงรักษาศีล ถ้าว่าบุคคล
แม้ไม่กระทำความชั่ว แต่เข้าไปเสพบุคคล
ผู้กระทำความชั่วอยู่ไซร้ บุคคลนั้น เป็น
ผู้อัน บุคคลพึงรังเกียจในเพราะความชั่ว
และโทษของบุคคลผู้เสพคนชั่วนี้ ย่อม
งอกงาม.
บุคคลย่อมกระทำบุคคลเช่นใดให้
เป็นมิตร และย่อมเข้าไปเสพบุคคลเช่นใด
บุคคลนั้นแลเป็นผู้เช่นกับด้วยบุคคลนั้น
เพราะว่าการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น คนชั่ว
ซ่องเสพบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปกติอยู่
ย่อมทำบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปกติที่
ซ่องเสพตน ให้ติดเปื้อนด้วยความชั่ว
เหมือนลูกศรที่แช่ยาพิษ ถูกยาพิษติดเปื้อน
แล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรซึ่งไม่ติดเปื้อนแล้ว
ให้ติดเปื้อนด้วยยาพิษ ฉะนั้น.

นักปราชญ์ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็น
เพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไป
ติดเปื้อน คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้า
คา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่นเหม็น
ฟุ้งไป การเข่าไปซ่องเสพคนพาล ย่อม
เป็นเหมือนอย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณา
ไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของคนนั้นย่อมมี
กลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพ
นักปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตรู้ความสำเร็จผลแห่งตน
ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัต-
บุรุษ พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษ
ย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบสุขสูตรที่ 7

อรรถกถาสุขสูตร


ในสุขสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุขานิ ได้แก่ เหตุแห่งความสุข. บทว่า ปตฺถยมาโน
ความว่า ปรารถนาอยู่ คือ จำนงหมายอยู่. บทว่า สีลํ ได้แก่ ทั้งศีลของ
คฤหัสถ์ และศีลของบรรพชิต อธิบายว่า ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องรักษาศีลของ
คฤหัสถ์ ถ้าเป็นบรรพชิต ก็ต้องรักษาจาตุปาริสุทธิศีล. บทว่า รกฺเขยฺย
ความว่า สมาทานแล้วไม่ล่วงละเมิด รักษาไว้ด้วยดีนั่นเอง.
บทว่า ปสํสา เม อาคจฺฉตุ ความว่า ผู้ฉลาดคือผู้มีปัญญา
ปรารถนาอยู่ว่า ขอกิตติศัพท์อันดีงามของเราจงมาถึงดังนี้ รักษาศีล. อธิบายว่า
กิตติศัพท์อันดีงามของคฤหัสถ์ผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดย
นัยมีอาทิว่า บุตรของตระกูลโน้น ชื่อโน้น เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มี
ศรัทธา เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้ให้ (ทาน) เป็นผู้บำเพ็ญ (บุญ) ดังนี้ก่อน
กิตติศัพท์อันดีงามของบรรพชิต ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดยนัยมี
อาทิว่า ภิกษุชื่อโน้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมด้วยสบาย
มีความเคารพ มีความยำเกรง ดังนี้ . สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
ทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันดีงามของผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมฟุ้งขจรไป ดังนี้.
อนึ่ง ดังที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากภิกษุพึงหวัง
อยู่ว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่นับถือของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายดังนี้ไซร้ เธอต้องเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
นั่นเอง.